เชื่อว่าเพื่อนๆ Zappnuar Story คนจะกินข้ำแข็งผสมกับเครื่องดื่มต่างๆเพื่อให้เกิดความสดชื่น แต่รู้กันบ้างไหมคะว่า น้ำแข็งก้อนใสๆนี้ จะมีอันตรายแฝงอยู่ อย่างไม่น่าเชื่อเลยล่ะค่ะ

น้ำแข็ง
หลายคนอาจสงสัยว่า เอ๊ะ!! น้ำแข็งก็ทำมาจากน้ำทั้งหมด 100% แล้วอันตรายจะมาจากตรงไหนกันล่ะ? ซึ่งน้ำแข็งที่เราบริโภคกันโดยส่วนใหญ่ มาจาก 2 แหล่งหลัก ๆ คือ น้ำแข็งที่ผลิตมาจากโรงงานผลิตน้ำแข็ง และ น้ำแข็งที่ผลิตจากเครื่องทำน้ำแข็งอัตโนมัติ ไม่นับที่แช่ทำเองในตู้เย็นที่บ้านนะคะ 
อันตรายจากน้ำแข็งที่ว่านี้ ส่วนใหญ่ที่เราควรระมัดระวังกัน นั่นก็คือ เชื้อโรค หรือจุลินทรีย์ในกลุ่มที่ก่อให้เกิดโรคที่ปะปนมาจากการผลิตและการขนส่งกันนั่นเองค่ะ เห็นไหมค่ะว่า เป็นภัยร้ายที่มองไม่เห็นกันจริง ๆ หากเราเคยติดตามข่าวสารของ คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขกันมาบ้าง อาจเคยได้ยินอยู่บ่อย ๆ กับการตรวจพบจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคในน้ำแข็งเกินมาตรฐาน
ภัยที่น่ากลัวจากน้ำแข็งนี้มาจากกระบวนการผลิตและการขนส่งของโรงงานที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีจิตสำนึกที่ดีในการผลิตอาหารให้ปลอดภัย ตั้งแต่มาตรฐานน้ำที่จะนำมาผลิตน้ำแข็งเพื่อการบริโภค ก็ควรต้องเป็น น้ำมาตรฐานน้ำบริโภค

น้ำแข็ง

โรงงานน้ำแข็งที่ผลิตภายใต้สุขลักษณะที่ดี และผ่านการตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินโรงงานตามกระทรวงสาธารณสุขนั้นมีน้อยมาก มาฟังกันต่อดีกว่าค่ะว่าประเภทน้ำแข็งที่เราต้องระวัง มีอะไรบ้าง

น้ำแข็งที่เราบริโภคกันในปัจจุบันมีมากมายหลายชนิด ตั้งแต่ น้ำแข็งหลอด น้ำแข็งเกล็ด น้ำแข็งโม่ หรือน้ำแข็งป่น ที่โม่และป่นมาจากน้ำแข็งซอง(สมัยก่อนเรียก น้ำแข็งมือ นึกภาพง่าย ๆ คือน้ำแข็งก้อนใหญ่ ๆ ที่นำมาทำเป็นน้ำแข็งใสกัน) ไปจนถึงน้ำแข็งที่เป็นหลอดเล็กที่นิยมใช้ในปัจจุบันกัน

น้ำแข็งที่เราควรระวังมากที่สุด คือน้ำแข็งโม่ หรือน้ำแข็งป่น ที่ผลิตจากโรงงานที่ไม่ได้มาตารฐานนี่แหละค่ะ ที่ตามร้านอาหารตามสั่งทั่ว ๆ ไปนิยมใช้ใส่แก้วมาให้เรา เพื่อเติมน้ำอัดลม หรือน้ำหวานตามที่เราสั่งมาดื่ม หรือร้านขายเครื่องดื่ม เช่น กาแฟเย็น ชาเย็น และน้ำหวาน การปนเปื้อนของเชื้อโรคนี้ปนเปื้อนได้ตั้งแต่แหล่งน้ำที่ใช้ในการผลิตน้ำแข็ง กระบวนการตัดก้อนน้ำแข็งให้มีขนาดเล็กลงจากการใช้ใบมีดที่เป็นเหล็ก และมีสนิม แอบบอกนะคะว่าโรงงานเหล่านี้ คนงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าวที่ต้องมีแรงและพลังกายในการยก การตัดก้อนน้ำแข็งเยอะ ๆ แอบเห็นอยู่บ่อย ๆ คะว่า ไม่สวมเสื้อทำงาน ใส่เพียงกางเกงขาสั้น และรองเท้าบูท เดินบนลานน้ำแข็งไปมา นี่เพิ่งแค่เริ่มต้นนะคะ ยังไม่นับรวมการบรรจุน้ำแข็งเหล่านี้มาส่งตามร้านอาหารที่เราจะรับประทานกัน บรรจุภัณฑ์ที่ใช้มักจะเป็นกระสอบเก่า ๆ ของกระสอบข้าวสารสีขาว ๆ กระสอบแป้ง และไม่แน่ใจว่าจะเอากระสอบสารเคมีอะไรมาใส่หรือเปล่า แล้วเคยเห็นเวลาจะนำลงจารถขนส่งกันไหมค่ะ เหยียบขึ้นไปบนกระสอบเอย ลากลงมาที่พื้นเอย เห็นแล้วแทบไม่กล้าทานอาหารร้านนั้นเลยล่ะคะ

ดังนั้นหากเราอยากทานน้ำแข็งที่สะอาดและปลอดภัย จึงควรใส่ใจกับแหล่งที่มา และหัดสังเกตน้ำแข็งจากร้านที่เราทานอาหารกันค่ะว่า สะอาดเพียงพอหรือไม่ ควรเลือกทานน้ำแข็งที่ผลิตโดยเครื่องอัตโนมัติ เพราะมีความเสี่ยงน้อยกว่า หรือเลือกทานน้ำแข็งอนามัยที่ผ่านการรับรองคุณภาพตามระบบ GMP หรือระบบความปลอดภัยของอาหารกันดีกว่านะคะ 

สารคดีเรื่อง น้ำแข็งภัยใกล้ตัว โดยทีม โมเลกุล โปรดักชั่น นักศึกษา RT ปี 4 นิเทศฯ DPU ได้รับรางวัลสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ดีเด่น ประเภทข่าว รางวัลสายฟ้าน้อย ครั้งที่ 11 ประจำปี 2558 จัดโดย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.dailynews.co.th/article/227878

Zappnuar Story : น้ำแข็งภัยใกล้ตัวก่อโรคร้าย!