ดาวหาง

ดาวหางแคทาลินา

ปีใหม่นี้รอชมดาวหางแคทาลินากัน 17 มกราคม 2016
ดาวหางแคทาลินา (Catalina) หรือ ดาวหาง C/2013 US10 ถูกค้นพบเมื่อเดือนตุลาคมปี 2013 โดยโครงการ Catalina Sky Survey ซึ่งเป็นโครงการที่สังเกตการณ์ทั้งดาวหาง, ดาวเคราะห์น้อยและวัตถุที่มีวงโคจรใกล้โลก(NEO)

นิวเคลียสของดาวหางดวงนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 กิโลเมตร มันเป็นวัตถุที่มาจากเมฆออร์ตที่อยู่ด้านนอกสุดของระบบสุริยะ มีคาบการโคจรของมันยาวนานหลายล้านปีซึ่งในขณะนี้มันอยู่ในช่วงเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ และในปี 2050 มันจะโคจรเป็นรูปไฮเปอร์โบลาหลุดออกไปโดยไม่ย้อนกลับมาอีก 

ดาวหนางแคทาลีนา

การสังเกตการณ์และความสว่าง
-ในปี 2013 ครั้งแรกที่สังเกตได้ ดาวหางมีความสว่างปรากฏ 18.6
– ต้นเดือนพฤษภาคมปี 2015 ดาวหางดวงนี้มีความความสว่างปรากฏ 12
– 6 พฤศจิกายน 2015 ดาวหางมีความสว่างปรากฏ 6 เพราะอยู่ในตำแหน่ง solar conjunction
– 15 พฤศจิกายน 2015 ดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดที่ระยะ 0.82 AU
– 17 ธันวาคม 2015 ดาวหางจะเริ่มปรากฏที่ซีกฟ้าเหนือ
17 มกราคม 2016 มันจะอยู่ห่างจากโลกราวๆ 0.72 AU (108,000,000 กิโลเมตร) และมีค่าความสว่างปรากฏราวๆ 5.5 ในกลุ่มดาวหมีใหญ่ ความสว่างระดับนี้มากพอจะสังเกตการณ์ได้ด้วยกล้องสองตา (กาแล็กซีแอนโดรเมดามีความสว่างปรากฏ 3.44 )

ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.facebook.com/NARITpage และ  www.narit.or.th

Zappnuar Story : ปีใหม่นี้รอชมดาวหางแคทาลินากัน 17 มกราคม 2016